5 วิธีสร้างลวดลายบนงานเซรามิก
นอกจากการวาดลวดลายลงบนเซรามิกให้เป็นไปตามจินตนาการแบบ 2D ง่ายๆ แล้ว หากว่าอยากทำงานเซรามิกให้เกิดความแอดวานซ์มากกว่านี้ เราขอแนะนำให้ลองดู 5 วิธีต่อไปนี้ วิธีไหนถูกจริตนำไปลองฝีมือกันได้เลย..อ่ะๆ ถ้าชิ้นงานเสร็จแล้ว เอามาอวดกันบ้างนะ
วิธีปั้นลอยตัว (Round Relief) เป็นการปั้นชิ้นงานเซรามิกให้มีรูปทรงในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้รอบด้าน โดยมีวิธีปั้นแปะหรือปั้นนูน (Embossing) เป็นการสร้างลวดลายโดยใช้เนื้อดินสีเดียวกันหรืออาจใช้เนื้อดินสีอื่นมา ทำให้เกิดลวดลายบนชิ้นงาน ซึ่งแบ่งเป็น
- วิธีตกแต่งแบบนูนสูง (High Relief) วิธีนี้จะได้งานที่มีฐานรองรับอยู่ด้านหลัง
- โดยฐานที่รองรับอาจเป็นผิวเรียบหรือผิวโค้งก็ได้ ซึ่งวิธีนี้ทำให้สามารถมองเห็นภาพเป็นมิติชัดเจน เมื่อสัมผัสกับแสงและเงา
- วิธีตกแต่งแบบนูนต่ำ (Bass Relief) รูปแบบงานลักษณะนี้จะอยู่สูงจากพื้นราบหรือโค้งเรียบมีลักษณะคล้ายงานประติมากรรมนูนสูงเพียงแต่ความสูงต่ำในภาพหรือลวดลายนูนต่ำจะถูกลดลงให้กระชั้นชิดกันมากกว่าแบบนูนสูงและโดยรอบของลวดลายจะยังคงความสูงจากพื้นหรือฐานที่รองรับไว้พอประมาณ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน
- วิธีขูดหรือขีด (Incising) เป็นวิธีการเก่าแก่วิธีหนึ่งในสมัยโบราณที่นิยมใช้ตกแต่ง
- วิธีการคือใช้โลหะปลายแหลมขูดหรือขีดให้เป็นลวดลายต่างๆ ลึกลงไปในพื้นผิว เมื่อนำมาตกแต่งด้วยน้ำยาเคลือบจะทำให้ลวดลายเห็นชัดยิ่งขึ้น ซึ่งลวดลายที่ว่าจะจมอยู่ในพื้นผิว
- วิธีการแกะลาย (Carving) วิธีนี้ทำให้ได้ลวดลายที่มีความสูงต่ำแตกต่างกันไป
- และเกิดเป็นมิติของลวดลาย
- วิธีกดดินเป็นรอย (Stamping) เป็นวิธีที่นำวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติมาสร้างลวดลาย เช่น เปลือกไม้ เปลือกหอยหรือก้อนหิน รวมถึงสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นแม่พิมพ์ต่างๆ กดลงไปบนผิวงาน โดยจะเป็นกดลายซ้ำๆ หรือผสมผสานให้เกิดลายใหม่ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล