เซรามิกทำจากดิน แต่ไม่ได้จำกัดแค่ดินระเภทเดียว

อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่า เซรามิกที่หลายคนคุ้นเคยจะเป็นเซรามิกที่ใช้ในครัวเรือนหรือของตกแต่งบ้าน ซึ่งเซรามิกเหล่านั้น ถูกจัดว่าเป็น เซรามิกแบบดั้งเดิม หรือ Traditional ceramic ซึ่งเป็นเซรามิกที่ทำจากวัสดุหลังคือ ดินดำ ดินขาว ดินแดง หินฟันม้า ทราย หินปูน หินผุ ควอตซ์และแร่อื่นๆ โดยสามารถแบ่งชนิดของเนื้อดิน

  1. พอร์ซเลน (Porcelain) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องเผาที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 1250 °c มีความแข็งแรงสูงมาก มีการดูดซึมน้ำใกล้เคียงศูนย์
  2. สโตนแวร์ (Stoneware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิเผาปานกลาง คือประมาณ 1150-1200 °c มีความแข็งแรงต่ำกว่าพวก porcelain มีการดูดซึมน้ำอยู่ในช่วง 3-5 %
  3. โบนไชน่า (Bone China) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเถ้ากระดูก ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโปร่งแสง ความแข็งแรงปานกลาง การดูดซึมน้ำต่ำ
  4. เอิร์ธเธินแวร์ (Earthenware) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการเผาไม่สูงมาก อยู่ในช่วง 900-1100 °c มีความแข็งแรงต่ำ การดูดซึมน้ำสูง ประมาณ 10-20%

ส่วนเซรามิกสมัยใหม่ที่เราเคยเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้นั้น คือเซรามิกที่ใช้วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการมาแล้วเพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูงได้รับการควบคุมองค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างจุลภาค (microstructure) อย่างแม่นยำ โดยเซรามิกสมัยใหม่อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ เซรามิกสำหรับงานโครงสร้าง, อิเล็กโทรเซรามิก และเซรามิกสำหรับงานทางด้านการแพทย์ นั่นเองค่ะ