เช็คให้ครบ 10 ขั้นตอนผลิตเซรามิกต้องทำ

หนึ่งชิ้นงานเซรามิกไม่ว่าจะเป็นชิ้นเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องผ่านกระบวนการผลิตมากมายถึง 10 ขั้นตอน เพราะหากขาดไปเพียงหนึ่งอาจทำให้ชิ้นงานออกมาตรงข้ามกับที่หวังไว้ ลองมาเช็คกันดูดีกว่าว่า มีขั้นตอนไหนที่คุณพลาดไปหรือเปล่า

  1. การออกแบบ > วัตถุประสงค์ของการผลิตชิ้นงานคืออะไร เป็นสิ่งที่นักปั้นผู้ผลิตงานต้องรู้เพื่อออกแบบชิ้นงานให้ตรงตามที่ต้องการภายใต้กรอบความคิดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมความรู้ทางด้านวัตถุดิบ และขั้นตอนการผลิต
  2. การเตรียมเนื้อดิน และการเตรียมน้้าเคลือบ > นำวัตถุดิบอย่างดิน หิน แร่ สารเคมี ไปทดสอบหาสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ก่อนเผาและหลังเผา แล้วจึงนำวัตถุดิบที่ผ่านกการทดสอบเข้าสู่กระบวนการล้างและบดย่อย ชั่งและผสมวัตถุดิบตามสูตรของเนื้อดินและน้ำเคลือบแต่ละประเภทที่ต้องการ แล้วนำไปบดเปียกในเครื่อง Ball mill หลังจากบดแล้วกรองผ่านตะแกรงตามความละเอียดที่ต้องการ ถ้าสูตรส่วนผสมของเนื้อดินหรือเคลือบที่ต้องการความขาวมากเป็นพิเศษ จะต้องนำเข้าเครื่องแยกเหล็ก จะได้น้ำดิน และน้ำเคลือบตามสูตรที่ต้องการ
  3. วิธีการขึ้นรูปชิ้นงาน > มีหลายวิธี แต่ละวิธีจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะและคุณสมบัติของเนื้อดินปั้นแต่ละประเภท ซึ่งวิธีการขึ้นรูปมีมากมายไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปด้วยมือ ด้วยเครื่อง และด้วยวิธีการใช้พิมพ์สำหรับการหล่อ 
  4. ขั้นตอนการทำชิ้นงานผลิตภัณฑ์ให้แห้ง > หลังขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วจะต้องปล่อยให้ชิ้นงานแห้งสนิทด้วยการผึ่งลมหรืออบด้วยเครื่อง เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว ผลิตภัณฑ์บางประเภทอาจต้องมีการขัดแต่งให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง หรือมีการเขียนสีใต้เคลือบก่อนจะนำไปเผา
  5. การเผาดิบ > การนำผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่แห้งสนิทดีแล้วนำไปเผา โดยช่วงอุณหภูมิในการเผาขึ้นอยู่กับประเภทของชิ้นงาน
  6. การตกแต่งสีใต้เคลือบ > นำชิ้นงานที่ผ่านการเผาดิบมาทำการตกแต่งด้วยวิธีการเขียนลวดลายหรือเป็นรูปต่างๆ โดยใช้สีใต้เคลือบติดลงไปบนชิ้นงาน 
  7. การเคลือบชิ้นงาน > นำชิ้นงานที่ยังไม่ได้เขียนสีใต้เคลือบหรือที่เขียนสีใต้เคลือบเรียบร้อยแล้ว มาชุบเคลือบด้วยวิธีการเทราด จุ่ม หรือพ่นเคลือบ
  8. การเผาเคลือบ > การเผาให้น้ำเคลือบที่ชุบบนชิ้นงานละลายเป็นเนื้อดินเดียวกันกับชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นเคลือบให้ขึ้นเป็นเงาแวววาว หรือเคลือบด้านที่มีผิวเรียบแต่แข็ง
  9. การตกแต่งสีบนเคลือบ > นำชิ้นงานที่เผาเคลือบเสร็จสมบูรณ์แล้วมาตกแต่งด้วยสีบนเคลือบ เช่น การเขียนลวดลายแบบต่างๆ และการใช้รูปลอกติดบนแก้วเซรามิค
  10. การเผาสีบนเคลือบ > นำชิ้นงานที่เขียนสีบนเคลือบหรือการใช้รูปลอกสีบนเคลือบที่ติดชิ้นงานแล้วมาเผาอีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้สีเขียนและรูปลอกที่ติดในผลิตภัณฑ์ติดแน่นไม่หลุด