สีสะเตนคืออะไร

สีที่ปรากฏให้เห็นบนเครื่องปั้นดินเผาในอดีตมาจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถให้สีได้ แต่สีเหล่านั้นไม่ติดแน่น มนุษย์จึงได้คิดค้นจนเจอสารที่นอกจากจะให้สีคงทนไม่เปลี่ยนแปลง และยังให้สีที่ต่างกันออกไปอีกมากมาย และมากกว่านั้นคือ เป็นสีที่เหมือนกันเป๊ะๆ ไม่ว่าจะใช้ตอนไหน

การปรับปรุงวัตถุดิบที่ใช้สำหรับให้สีที่ว่านี่ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตสีเซรามิก หรือที่รู้จักกันในคำเรียกกว่า”สีสะเตน (Stain Color)” สีสะเตนคือออกไซด์ของพวกโลหะ ธาตุทรานซิชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กออกไซด์ นิกเกิลออกไซด์ โคบอลต์ออกไซด์ ฯลฯ
ที่ให้สีต่างกันไป โดยนำมาบดผสมกันแล้วเผา จากนั้นจึงนำมาบดเป็นผงละเอียดอีกครั้งเพื่อนำไปใช้ผสมในเนื้อดินหรือผสมเคลือบบนชิ้นงาน

ข้อดีของสีสะเตน คือช่วยลดตำหนิของเคลือบและอาจทำให้การเผาเคลือบทำได้เร็วขึ้นเพราะสีสะเตนถูกเผาส่วนผสมและมีการเกิดปฏิกิริยาในการเผามาแล้วระดับหนึ่ง

นอกจากนี้สีสะเตนยังทำให้เกิดสีใหม่ที่มีสีสันสดใสสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกโด
ยเฉพาะ ทั้งนี้สีสะเตนกับสีออกไซด์มีความแตกต่างกันในเรื่องของความเสถียรอย่างชัดเ
จน โดยสีสะเต้นจะมีความเสถียรมากกว่า จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้ชิ้นงานมีสีสันที่เหมือนกันตลอดในทุกครั้งของการผลิต ซึ่งหากใช้สีออกไซด์จะเป็นการยากในการควบคุมเรื่องของสีที่ออกมาอย่างสม่ำเสมอรวมถึงความเนียนเป็นเนื้อเดียวกันของสีสะเตนที่ต่างจากสีออกไซด์ซึ่งยังคงพบว่ามีจุดต่างๆ จากแร่ธาตุต่างๆ ปนมาในเนื้อสี

ปัจจุบันได้มีการผลิตคิดค้นสีสะเตนมาใช้ตามประเภทของการใช้งานอีกด้วย โดยแบ่งเป็น 

  1. สีสะเตนที่ใช้กับเนื้อดิน (Body Stain)
  2. สีสะเตนที่ใช้กับเคลือบ (Glaze Stain)

โดยสีสะเตนที่ใช้กับเคลือบมีทั้งสีสะเตนที่ใช้ใต้เคลือบ (Underglaze Stain) สีสะเตนที่ใช้บนเคลือบ (Overglaze Onglaze Stain) และสีสะเตนที่จมลงในเนื้อเคลือบ (Inglaze Stain)