วิธีการโหลดชิ้นงานสำหรับการเผาดิบ

อันดับแรก กำหนดจุดวางขาเตาเป็นรูปสามเหลี่ยม คือ 2 จุดที่มุมซ้ายขวา และ 1 จุดกึ่งกลางที่อยู่ตรงกันข้ามและตรวจสอบให้แน่ใจว่าชั้นวางอยู่ห่างจากพื้นเตาที่ 1 นิ้ว เพื่อให้ความร้อนและอากาศสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสม่ำเสมอทั่วเตา

ขณะวางชั้นงานหรือชิ้นงานโปรดระวังเทอร์โมคัปเปิลหักหรือร้าว โดยวางชิ้นงานดิบ (Greenware) ให้ต่ำกว่าระดับเสาประมาณ ½ นิ้ว และอย่าลืมว่าชิ้นงานดิบเปราะบาง ไม่ควรจับที่ขอบ และพยายามจับด้วยสองมือ

จากน้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นงานแห้งสนิทจริงๆ ถ้าเครื่องปั้นดินเผามีความหนาให้วางไว้ที่แก้มของคุณ แม้ชิ้นงานจะเย็นแล้วแต่ก็ยังเปียกอยู่ ให้พักไว้จนกว่าจะแห้งสนิท เพราะหากนำเข้าเตาขณะชื้นอาจทำให้ชิ้นงานร้าวหรือแตกได้ ทั้งนี้สามารถวางชิ้นงานดิบซ้อนกันเป็นชั้นๆ ได้ แต่ไม่ควรวางซ้อนกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ชิ้นงานที่อยู่ตำแหน่งล่างสุดแตกหักได้ ฉะนั้นหากไม่แน่ใจว่าชิ้นงานมีน้ำหนักมากเกินไปหรือเปล่าก็ไม่ควรนำมาซ้อนกันดีที่สุด

นอกจากนี้จะต้องเว้นให้มีที่ว่างสำหรับก๊าซและความร้อนที่จะไหลเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อชั้นวางด้านล่างเต็มให้วางชั้นวางอีกที่ด้านบนอย่างระมัดระวัง อย่ากดหรือกระแทกอิฐเตาและใส่ขาเตาที่ขนาดเท่ากันในตำแหน่งเดียวกับขาเตาที่อยู่ด้านล่าง เว้นระยะห่างระหว่างชิ้นงานชั้นบนสุดและฝาเตาอย่างน้อย 1 นิ้ว เพื่อให้เชื้อเพลิงถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้ใช้เฟอร์นิเจอร์เตาเกินความจำเป็น เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์เตาจะต้องใช้พลังงานมากในการทำให้ร้อนมากกว่าเครื่องปั้นดินเผามาก เมื่อบรรจชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว ปิดฝาอย่างระมัดระวัง และควรแง้มฝาไว้ประมาณ 1 นิ้วเพื่อให้ไอน้ำออกประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มการเผา และปิดฝาเตาให้สนิทหลังจากนั้น และเพื่อป้องกันการแตกร้าว อย่าเปิดฝาเตาเมื่ออุณหภูมิในเตาเผาสูงกว่า 300 องศา ต่อเมื่อเตาเผาเย็นลงถึง 150 องศา จึงแง้มฝาเตาได้

จากนั้นนำชิ้นงานที่เผาเสร็จแล้วไปวางในที่ที่เหมาะสม ทำความสะอาดภายในเตาด้วยเครื่องดูดฝุ่น ดูดบริเวณพื้นเตาเผาและผนังด้านข้างถ้าจำเป็น 

อย่าลืมบันทึกการเผาในสมุดบันทึกและตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้บันทึกการโหลดในบันทึกตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะปิดเตาเผาจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการ